ที่มาโครงการ
โครงการนิทรรศการพระไตรปิฎกฉบับนานาชาติ เป็นโครงการแรกที่มูลนิธิพระไตรปิฎกเพื่อประชาชนได้จัดขึ้น โดยได้รับความร่วมของหน่วยงาน 3 ฝ่าย คือ มูลนิธิพระไตรปิฎกเพื่อประชาชน,วัดจากแดง,ติปิฏกะสิกขาลัย การจัดงานครั้งนี้เป็นระบบงานที่เริ่มผลิตวัสดุเอง จนถึงการติดตั้ง และออกแบบการเรียนรู้ และประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ เป็นการทำงานของคนภายในองค์กรทั้งหมด นิทรรศการพระไตรปิฎกนานาชาติเริ่มดำเนินการในวันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2563 เป็นการเปิดงานพร้อมกับกิจกรรมการวางศิลาฤกษ์การสร้างอาคารติปิฏกะสิกขาลัย
กลุ่มนักเรียนคณะที่ 1
ศูนย์การเรียนวีเลิร์น/หวานเย็น วิชชาลัย
การดำเนินการในช่วงแรก
เป็นการให้ความรู้กับประชาชนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมภายในของวัดในวันสำคัญทางศาสนา เมื่อจะจบโครงการในเฟสที่ 1 คือในเดือนตุลาคม 2563 แต่เมื่อเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเยาวชน ทางมูลนิธิฯ จึงขยายเวลาการจัดนิทรรศการเพื่อให้โครงการนี้เป็นประโยชน์กับนักเรียน ในแง่การให้ความรู้พระพุทธศาสนา จึงได้มีการตั้งเป้าหมายว่า ระหว่างเดือนพฤจิกายน ถึง เดือนธันวาคม 2563 จะให้นักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่บริเณใกล้เคียง ได้มีโอกาศเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ
ความท้าทาย
การเชื่อมโยง "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน“ ให้เป็นที่รู้จัก
และเข้าถึงกับโรงเรียนต่างๆ เป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักและออกแบบ
การเรียนรู้ไปทีละลำดับ เพราะด้วย ความเชื่อ ความกังวล
และความเคยชินของคนไทย ที่เข้าใจว่าพระไตรปิฎกเป็นเรื่องของ
พระภิกษุสงฆ์ มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับประชาชนคนทั่วไป
เราจึงใช้กระบวนการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้คู่ไป
กับความสนุกในบทเรียนตามหลักสูตรของโรงเรียน
ซึ่งจะสอดคล้องกับพุทธประวัติในหลักสูตรที่นักเรียนและกล่าวถึงสิ่ง
ปรากฏขึ้นในพระไตรปิฎกไปพร้อมๆกันเพื่อนักเรียน
ร่วมสมัย
เนื้อหาการเล่าเรื่องให้นักเรียนฟังจะถูกออกแบบให้เหมือนการเล่านิทาน Story Telling ซึ่งจะใช้คำและภาษาที่ให้นักเรียนฟังแล้วเข้าใจง่าย แต่ถ้าเป็นหลักวิชา ก็จะคงความเดิมไว้เช่น ข้อธรรม ตัวบุคคล สถานที่ และเวลา ที่อยู่ ในบางพระสูตรและอธิบายคำศัพท์อธิบายในบางกรณี ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนคุ้นกับศัพท์ หรือ สำนวนทางศาสนา มีทัศนคติที่ดีต่อพระพุทธศาสนา, อยากค้นความรู้ในพระไตรปิฎกเอง, เข้าใจประวัติศาสตร์ผ่านการฟัง, จดจดข้อความน่ารู้บางส่วนจากพระไตรปิฎก, ฟังเพลงแล้วความย่อความพระไตรปิฎกหมายถึงอะไร, เรียนรู้แบบทางวิชาการได้
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธพจน์ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก และเกิดการเรียนรู้ว่า พระไตรปิฎกคืออะไร, พระไตรปิฎกสำคัญอย่างไร, พระไตรปิฎกเป็นศาสดาของชาวพุทธอย่างไร, และการศึกษาเพิ่มเติมเองในห้องสมุดของโรงเรียน มูลนิธิพระไตรปิฎกเพื่อประชาชน จึงได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจในวิชาพระพุทธศาสนาและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการเชิญชวนโรงเรียนตามกลุ่มเป้าหมายและโรงเรียนเครือข่ายใกล้ๆรอบอาณาเขตบริเวณสถานที่จัดนิทรรศการ
ประยุกต์
บทเรียนให้สอดคล้องกับผู้เรียน เมื่อต้องนำให้นักเรียนเข้าใจว่า สติคืออะไร? สิ่งที่ทางผู้จัดต้องมาทำความเข้าใจในการมีสติ
คือ การระลึกรู้ตัวอยู่ต่อเนื่องหรือเนืองๆ โดยทำ ไปเล่นไปได้บ้าง ทำไปคุยไปได้บ้าง เพื่อให้เกิด
ความผ่อนคลายและการเรียนรู้ “กิจกรรมแก้วน้ำแห่งสติ”นี้ คือการภาวนาตลอด เส้นทางที่นักเรียนเดินผ่าน โดยมีผู้บรรยายอธิบาย
และสร้างบรรยากาศให้เด็กๆเข้าใจและมีสติ
โดยเราให้เด็กๆเดินจงกรมทักษิณาวรรต(วนขวา) รอบเจดีย์ปฐมเทศนาภายในบริเวณวัด 3 รอบ เพื่อให้เกิดความเคยชินและการทำซ้ำ เกิดสติภาวนาทุกลมหายใจ ไม่ฟุ้งซ่านหรือคิดมาก หรือเล่นกับเพื่อนๆในระหว่างทำกิจกรรมนี้
โครงการนำนักเรียนเยี่ยมชม
นิทรรศการพระไตรปิฎกนานาชาติ
และร่วมกิจกรรมเรียนรู้พระพุทธศาสนาผ่านการปฏิบัติ
สถานะโครงการ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๓ และสิ้นสุดในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓
เป้าหมาย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นอื่นๆ
ความคืบหน้า บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือมีโรงเรียนสนใจมาเข้าร่วม 4 โรงเรียน เป้าหมายเดิม 3 โรงเรียน โดยใช้เวลาน้อยกว่ากำหนด (พฤศจิกายน-ธันวาคม) โดยในครั้งสุดท้าย สำเร็จลุล่วงและเกิดการเปลี่ยนแปลงกับนักเรียนที่เข้าร่วมอย่างดี
ผลการดำเนินงาน
ซึ่งในครั้งที่ที่จัดให้โรงเรียนอำนวยวิทย์ นักเรียนได้ผลสะท้อน ความรู้สึกที่ดีต่อพระพุทธศาสนา ผ่านการเขียนข้อความส่งคืน ให้กับผู้จัดงาน โดยมีอัตราความพึงพอใจในกิจกรรมมากถึง 93%
การเรียนด้วยฐานกิจกรรม
พระสัทธรรม 3 แก่นักเรียน
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ปัญหาหรืออุปสรรค